วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาก้าวทันโลกศึกษา


สรุปเนื้อหาวิชาก้าวทันโลกศึกษา

  เพื่อเป็นการสรุปประเด็นอันเป็นสาระสำคัญ สำหรับเนื้อสาระของบทเรียนวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 หรือ รายวิชาการปกครองของไทยเดิม นั่นเอง  ผู้สอนขอสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย
    -ระบบการปกครองราชาธิปไตย แบบพิเศษเรียกว่า ระบบพ่อปกครองของ (Paternalism Goverment)
    - ปัจจัยเอื้ออำนวยให้ปกครองระบบนี้ได้ เพราะพลเมืองมีน้อยนั่นเอง
    - สุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 8  พระองค์
    - พ่อขุนรามฯ ประดิษฐ์อักษรไทย  รับพุทธศาสนาหินยานมาประจำอาณาจักรเป็นครั้งแรก
      ประเทศไทยย่างก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในสมัยนี้ เพราะมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก
     - พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แต่งเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา และบวชในขณะครองราชย์เป็นพระองค์แรกของไทย
     - ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไป กษัตริย์จะได้สมญานามว่า "ธรรมราชา"  มีที่ 1-4





                                   จากhttp://upload.wikimedia.org2. กรุงศรีอยุธยา
     -ปกครองด้วยระบบราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า
ระบบ"ข้ากับเจ้า"หรือ "บ่าวกับนาย" (Autocratic Government)
     - รับลัทธิเทวราชามาจากอินเดีย (ผ่านทางเขมร) ทำให้ฐานะของกษัตริย์ เปรียบเสมือน
เทพเจ้าโดยสมมติหรือสมมติเทพ  เรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้า  มีคำราชาศัพท์เกิดขึ้น มี่ระบบศักดินา  มีระบบมูลนาย เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นครั้งแรก
     - กฎหมายที่ใช้ตลอดสมัยนี้คือ พระราชศาสตร์ กับ พระธรรมศาสตร์ (รับจากอินเดีย)
พระราชศาสตร์ คือพระราชวินิจฉัยของกษัตริย์ของเราพระองค์ก่อน ๆหรือองค์ปัจจุบัน
     - รับหลักการปกครองแบบ "จตุสดมภ์"มาจากขอม
     - สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี คือสมุหนายก ฝ่ายซ้าย
สมุหกลาโหมฝ่ายขวา   ทรงเปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เป็น นครบาล ธรรมาธิกร
โกษาธิบดีและเกษตราธิการ
     -เสียกรุงฯครั้งแรกสมัยพระมหินทราธิราช  ทำสงครามแพ้แก่กษัตริย์บุเรงนองของพม่า(สาเหตุสำคัญเพราะไทยเราแตกสามัคคี พระมหาจักรพรรดิ กับพระมหาธรรมราชาแตกแยกัน พระมหาธรรมราชาฝักใฝ่ฝ่ายพม่า) พระนเรศวรฯทรงกู้เอกราชกลับคืนมา ซึ่งเราตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ 15 ปี
     -เสียกรุงฯครั้งที่ 2 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เพราะเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่าง "ทวิราชา
" คือพระเจ้าเอกทัศน์ กับพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบรมโกศ ต่างมารดากัน
เอกทัศน์เป็นพี่ อุทุมพรเป็นน้อง แก่งแย่งบัลลังก์กัน อุทุมพรต้องไปบวช จนได้ชื่อว่า "ขุนหลวงหาวัด"
       กษัตริย์ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีฯแตกครั้งที่สองคือ พระเจ้ามังระ  และพระเจ้าตากสิน
ได้กู้เอกราชกลับคืนมา  อยุูธยาเป็นเมืองหลวง 417 ปี มีกษัตริย์ 34 องค์  5 ราชวงศ์ ได้แก่


1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์

3. กรุงธนบุรี เป็นราชธานี 15 ปี มีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวได้แก่ พระเจ้าตากสิน
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การ ปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้ เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

การ ปกครองส่วนภูมิภาค

  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
การศาลสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพากของชาวนา

    4. รัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.1-ร.4
                                      วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ )


    รูปภาพจาก http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_7_history.htm

    เหตุผล ในการย้ายราชธานี
    1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา
    2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
    3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด เพิ่มเติม วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
    -วันจักรี 6 เมษายน 2325 เวลาในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ 2325-2328 รวม 3 ปี
    -รับเลี้ยงดูองค์เชียงสือ (ญวน)และนักองค์เอง(เขมร)ภายหลังกลับไปครองราชย์ทั้ง 2 องค์
    -จัดทำกฎหมายใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง คือ ตราราชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง
    สมุหนายก ตราคชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง สมุหกลาโหม และตราบัวแก้ว ตราประำจำตำแหน่งของโกษาธิบดี กฎหมายนี้ได้ยกเลิกเมื่อมีประมวลกฎหมายเล่มแรกของไทยใน พ.ศ. 2451 สมัยรัชกาลที่ 5

    รูปภาพจาก http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_3_history.htm รายละเอียดเพิ่มเติมด้านกฎหมายและการศาล ไทย
    กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
    พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
    ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
    การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของ ตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1


    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีผลงานที่พระราชนิพนธ์
    คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
    คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา มีทั้งอิเหนาใหญ่ ( ดาหลัง ) และอิเหนาเล็ก ( อิเหนา )
    คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท
    กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดงหรือที่เรียกว่า นิราศท่าดินแดง
    พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )

    -รัชกาลที่ 2

    เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสมเด็จพระอมรินทรา
    บรมราชินี
    พระราชลัญจกร เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑ ในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ "ฉิมพลี"
      
    ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา มาจนถึงปััจจุบันนี้
    วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวันประจำรัชกาลที่ 2 เดิมชื่อ วัดบางมะกอก

    ด้านกวีและวรรณกรรม
    ในสมัยรัชการที่ 2 นี้จัดว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม จนกล่าวได้ว่า “ถ้าใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด”
    กวีที่สำคัญ ได้แก่
    1 . รัชการที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ อิเหนา รามเกียรติ์ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง
    2 . สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ลักษณะวงศ์ สิงหไตรภพ โคบุตร พระไชยสุริยา นอกจากนี้ ยังมีนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
    นิราศเมืองเพชรบุรี นิราศพระประธม นิราศทั้งหมดล้วนเป็นคำกลอน ยกเว้นนิราศเมืองสุพรรณเป็นโคลงสี่สุภาพ
    3 . พระยาตรัง แต่ง โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
    4 . นายนรินทร์ธิเบศร์ (อินทร์) แต่งโคลงนิราศนรินทร์
    รัชกาลที่ 3

    รัชกาลที่ 3 มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ( กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย )

    พระราชลัญจกรเป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

                              วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
      
    การทำสัญญาทางการค้าของตะวันตก
    -ไทยกับอังกฤษตกลงกันได้จึงทำสัญญาต่อกันนับ เป็นสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเรียกว่า “สัญญา เบอร์นี่”
    -ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาได้ มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2376 โดยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ๊คสัน ได้ส่ง เอ็ดมันด์ โรเบอร์ต Edmund Roberts คนไทยเรียก “เอมินราบัด” เป็นทูตเข้ามาทำสัญญาการค้ากับไทย


    ด้านวรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้สนพระทัยในด้านการประพันธ์มากนัก ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ วรรณคดีไว้ ที่สำคัญ ได้แก่ บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างตามนางวันทอง โคลงปราบดาภิเษก เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ทรงสนับสนุนวรรณคดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผลงานของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  

    รัชกาลที่ 4
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี



    พระราชลัญจกร
    เป็นรูปพระ มหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาล หรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายา เมื่อทรงผนวช ว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

    -โปรดให้ ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรง อักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา”

    -มีการ จัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติ แล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกัน ว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

    วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2407 พระราชทานถวายเป็นพระอารามสำหรับพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งวัดนี้ เป็นพระอารามประจำ รัชกาล 4 
                                       วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

    สนธิสัญญาเบาว์ริง
     พระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษได้ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring ซึ่งเป็นผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาทำการค้ากับไทย

    ส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิตเป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ในปี พ.ศ. 2404 โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส

    วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    การฝึกสมาธิ


    การฝึกสมาธิเบื้องต้น

    สมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง
    การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยม ได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้
    การจะทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ 
    ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ 
    การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต 

    ๑.การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ
    ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่าทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน ในอิริยบททั้ง ๔ นี้เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
    การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
    การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจ
    การนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
    การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน
    home

    ๒.ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ ๒.๑ การหาเวลาที่เหมาะสม เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอน  หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
    ๒.๒ การหาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้นแล้ว และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก
    ๒.๓ เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้วเป็นต้น
    ๒.๔ อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
    ๒.๕ ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
    ๒.๖ ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ ๑๕ นาทีก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
    ๒.๗ เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
    home

    ๓.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต
    การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธี  และแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ ๓.๑ นับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
    ๓.๒ นับลมแบบอรรถกถา
    ๓.๓ นับทวนขึ้นทวนลง
    ๓.๔ นับวน *   ๓.๑ การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง
        ๓.๒ การนับลมแบบอรรถกถา เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรม ของพระราชวรมุนี หน้า (๘๖๕) หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรก  วิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า ๑ เมื่อหายใจออกให้นับว่า ๑ พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า ๒ หายใจออกก็ให้นับว่า ๒ สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ ๕ ก็ให้ตั้งต้นมานับ ๑ ไปใหม่จนถึงเลข ๖ ก็ให้มาตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๗ ถึง ๘ ถึง ๙ และ ๑๐ แล้วตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๕ และนับต่อไปถึง ๑๐ อีก ลองศึกษาดูที่ตารางข้างล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
     แบบนับเป็นคู่พร้อมกับลมหายใจ เช่น (๑-๑) หนึ่งตัวแรกคือลมหายใจครั้งที่ ๑ หนึ่งตัวที่สองคือการนับ

    เที่ยวที่ ๑
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๒
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๓
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
     
     
     
    เที่ยวที่ ๔
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
     
     
    เที่ยวที่ ๕
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
    ๙-๙
     
    เที่ยวที่ ๖
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
    ๙-๙
    ๑๐-๑๐

    อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจกับตารางข้างล่างนี้สำหรับการนับเดี่ยว

    เที่ยวที่ ๑
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๒
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๓
     
     
     
    เที่ยวที่ ๔
     
     
    เที่ยวที่ ๕
     
    เที่ยวที่ ๖
    ๑๐

    ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้ใจยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใตับังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว
     
    แบบนับลมเป็นคู่
    วิธีนี้จะง่ายกว่าแบบอรรถกถาข้างต้นเล็กน้อย เพราะว่าให้เริ่มนับไปได้เลย วิธีมีดังนี้คือ
    แบบนับตามลม เวลาหายใจเข้า ก็ให้กำหนดลมหายใจที่เข้ามากระทบไว้ที่ปลายจมูก หรือโพรงจมูกด้านใน ตรงที่รู้สึกว่าลมกระทบตรงนั้น แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งในใจ แล้วก็เอาใจตามลมหายใจเข้ามาจนผ่านปอด ให้ความรู้สึกว่าไปสุดปลายที่ท้องเลยทีเดียว ถึงตรงนี้ก็คือถือเป็นสิ้นสุดการหายใจเข้า
    เวลาหายใจออก ก็ให้ต้นลมอยู่บริเวณท้องแล้วก็นับหนึ่งใหม่ในใจ พร้อมกับหายใจออก
    เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ให้ศึกษาดูจากตารางนี้อีกเที่ยวหนึ่ง

    เที่ยวที่ ๑
    ๑-๑
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๒
    ๑-๑
    ๒-๒
     
     
     
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๓
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
     
     
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๔
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
     
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๕
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
     
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๖
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
     
     
     
     
    เที่ยวที่ ๗
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    เที่ยวที่ ๘
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
    เที่ยวที่ ๙
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
    ๙-๙
    เที่ยวที่ ๑๐
    ๑-๑
    ๒-๒
    ๓-๓
    ๔-๔
    ๕-๕
    ๖-๖
    ๗-๗
    ๘-๘
    ๙-๙
    ๑๐-๑๐

    home
    *ตัดตอนบางส่วนมาจากหนังสือสมาธิภาวนา โดยธรรมรักษา

    วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    การตั้งพระพุทธรูปบูชา



    การตั้งพระพุทธรูปบูชา
              การตั้งพระพุทธรูปบูชาประจำบ้าน ประจำสำนักงาน หรือประจำอาคารสถานที่ ถ้าจัดตั้งให้ดีและถูกต้องตามตำราโบราณกาล จะบันดาลให้ผู้อยู่อาศัยและบริวารมีความสุข มีความเจริญ เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งตำราโบราณกาลกล่าวไว้ดังนี้
    1.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) เรียกว่า ทิศราชา จะประกอบกิจการใด สำเร็จได้ดังใจหมาย
    2.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) เรียกว่า ทิศปฐม จะประกอบกิจการใด ไม่ค่อยเกิดลาภผล แต่พอมีพอใช้
    3.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ (ทิศใต้) เรียกว่า ทิศจัณฑาล จะประกอบกิจการใด จะสำเร็จผลแสนยากลำบาก ไม่คุ้มกับที่ลงทุนลงแรง.
    4.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้เรียกว่า  ทิศวิปฏิสาร จะประกอบกิจการใด จะนำความเดือดร้อนมาให้ตน และคนใกล้เคียง
    5.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศปัจฉิม (ทิศตะวันตก) เรียกว่า ทิศกาลกิณี จะประกอบกิจการใด ไม่เกิดมงคล ระวังจะเกิดอันตรายร้ายแรงแก่ตน
    6.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) เรียกว่า ทิศอุทธัจจะ จะประกอบกิจการใด มักฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่เป็นมงคล ตีตนไปก่อนไข้
    7.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) เรียกว่า ทิศมัชฌิมา จะประกอบกิจการใด ให้ผลปานกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ไม่สูง ไม่ต่ำ
    8.      ตั้งพระพุทธรูป หันพระพักตร์ไปทางทิศอิสาน เรียกว่า ทิศเศรษฐี จะประกอบกิจการใด จะเจริญดี มีความร่ำรวย เป็นเศรษฐี